รูปภาพโฆณา แบบภาพวนซ้ำ

ข่าวประชาสัมพันธ์



การไปรษณีย์กลุ่มอาเซียน ผนึกกำลังออกแสตมป์ร่วม “แสตมป์อาเซียน 2567”สะท้อนภารกิจไปรษณีย์ที่มีบทบาทสำคัญต่อชาติ

     กรุงเทพฯ 6 สิงหาคม 2567 – ไปรษณีย์ 10 ประเทศอาเซียน ร่วมกันออกแสตมป์ชุด “แสตมป์อาเซียน 2567” เพื่อสานต่อความร่วมมือและสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศสมาชิก นำเสนอภาพ“อาคารไปรษณีย์กลาง” ของแต่ละประเทศ ออกจำหน่ายพร้อมกันทั้ง 10 ประเทศในวันอาเซียน 8 สิงหาคมนี้ 
     ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือของการไปรษณีย์อาเซียนทั้ง 10 ประเทศว่า การออกแสตมป์ร่วมกันในชุด“แสตมป์อาเซียน 2567” อยู่ภายใต้หัวข้อ “อาคารไปรษณีย์กลาง” ของแต่ละประเทศ โดยไปรษณีย์ไทยนำเสนอภาพอาคารไปรษณีย์กลางของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาคาร   ที่มีความสวยงามในเชิงสถาปัตยกรรมแบบอาร์ต เดโค และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยเริ่มเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2483  และถือเป็นอาคารที่รวบรวมผลงานประติมากรรมล้ำค่า ซึ่งเป็นผลงาน อ.ศิลป์ พีระศรี ไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง อาทิ รูปปั้นพญาครุฑที่มุมบนอาคาร ประติมากรรมนูนต่ำรูปแสตมป์ขนาดใหญ่ ซึ่งประดับภายในอาคาร และประตูเหล็กหล่อ โดยภาพแสตมป์ชุดแสตมป์อาเซียน 2567 จะเป็นภาพอาคารไปรษณีย์ในมุมเงยด้านหน้าในรูปแบบกราฟิกสีน้ำ สื่อถึงความสวยงามอลังการของอาคารที่ตั้งตระหง่านผ่านกาลเวลามายาวนานกว่า 84 ปี ประกอบตราสัญลักษณ์ ASEAN POST และธงชาติไทย
     สำหรับโครงการแสตมป์อาเซียนซึ่งเป็นการออกแสตมป์ร่วมกันของทั้ง 10 ประเทศอาเซียนภายใต้หัวข้อเดียวกันนั้น เริ่มครั้งแรกในปี 2558 เพื่อฉลองวาระครบรอบ 48 ปีการก่อตั้งสมาคมอาเซียนและการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดหาภาพต้นแบบเพื่อนำมาทำแสตมป์ดังกล่าว และจากนั้นในปี 2560 จึงได้ออกแสตมป์ร่วมเป็นครั้งที่ 2 ในหัวข้อดอกไม้ประจำชาติ และในปี 2562 ในหัวข้อชุดแต่งกายประจำชาติตามลำดับ ผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อได้ที่ไปรษณีย์ในกรุงเทพฯ และไปรษณีย์ประจำจังหวัด หรือทางออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน/เว็บไซต์ www.thailandpostmart.com จำหน่ายราคาดวงละ 20 บาท ซองวันแรกจำหน่าย 33 บาท ออกจำหน่าย 8 ส.ค.นี้ 

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader
ขออภัยครับ

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

}