
ไปรษณีย์ไทย x บขส. ผนึกเครือข่ายยานพาหนะ – เส้นทางเดินรถ บริการขนส่ง “ฮับทูฮับ” ช่วยกระจายสินค้า พร้อมเพิ่มทางเลือกการขนส่งให้สะดวกอีกขั้น
กรุงเทพฯ 8
มีนาคม 2566 - บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผนึกความร่วมมือ
บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. ให้บริการการฝากส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ผ่านความชำนาญด้านเส้นทาง
ยานพาหนะ และจุดให้บริการในรูปแบบการส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์จากศูนย์กระจายสินค้าหนึ่งไปยังศูนย์กระจายสินค้าอีกแห่งหนึ่ง
หรือ Hub to Hub โดยความร่วมมือดังกล่าวเป็นการใช้ทรัพยากรของทั้งไปรษณีย์ไทยและ
บขส. ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่จะมีทางเลือกและความมั่นใจกับการฝากส่งสิ่งของที่มากกว่าเดิม
และตอบโจทย์ปริมาณการฝากส่งสิ่งของและเทรนด์การส่งด่วนที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินงานด้านการรับฝาก – นำจ่ายไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุ ไปรษณีย์ไทยถือว่ามีความครบครันในด้านโซลูชันการให้บริการที่ตอบโจทย์กับประเภทความต้องการขนส่ง ความสะดวก รวมทั้งเครือข่ายที่ครอบคลุมที่สุด และในปีนี้เพื่อให้ด้านเครือข่ายและทางเลือกในการขนส่งสิ่งของกับไปรษณีย์ไทยมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น จึงได้ร่วมมือกับ บขส. หรือบริษัท ขนส่ง จำกัด ที่จะให้บริการกับประชาชนในการฝากส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและเครือข่ายของ ทั้งสองฝ่ายที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะในด้านความชำนาญเส้นทาง ยานพาหนะ เทคโนโลยี ด้านข้อมูล รวมทั้งจุดให้บริการที่มีอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งการจับมือกันในครั้งนี้จะช่วยตอบโจทย์ ปริมาณการฝากส่งสิ่งของที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งในด้านระยะเวลาการส่งด่วนที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินงานด้านการรับฝาก – นำจ่ายไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุ ไปรษณีย์ไทยถือว่ามีความครบครันในด้านโซลูชันการให้บริการที่ตอบโจทย์กับประเภทความต้องการขนส่ง ความสะดวก รวมทั้งเครือข่ายที่ครอบคลุมที่สุด และในปีนี้เพื่อให้ด้านเครือข่ายและทางเลือกในการขนส่งสิ่งของกับไปรษณีย์ไทยมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น จึงได้ร่วมมือกับ บขส. หรือบริษัท ขนส่ง จำกัด ที่จะให้บริการกับประชาชนในการฝากส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและเครือข่ายของ ทั้งสองฝ่ายที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะในด้านความชำนาญเส้นทาง ยานพาหนะ เทคโนโลยี ด้านข้อมูล รวมทั้งจุดให้บริการที่มีอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งการจับมือกันในครั้งนี้จะช่วยตอบโจทย์ ปริมาณการฝากส่งสิ่งของที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งในด้านระยะเวลาการส่งด่วนที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
“ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการดำเนินงานตามแนวคิด
Sharing
Economy ซึ่งทั้งไปรษณีย์ไทย
และ บขส. นับเป็นผู้ที่มีความชำนาญด้านเส้นทาง มีเครือข่ายและยานพาหนะที่สามารถรองรับการขนส่งได้ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ รูปแบบของการดำเนินงานจะเป็นการส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์จากศูนย์กระจายสินค้าหนึ่งไปยังศูนย์กระจายสินค้าอีกแห่งหนึ่ง
หรือ Hub to Hub และการส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์จากศูนย์กระจายสินค้าหนึ่งส่งมอบให้กับผู้รับปลายทาง
หรือ Hub to Door โดยในปี 2566 จะเริ่มต้นด้วยการดำเนินงานแบบแรกคือ Hub to Hub ซึ่งเป็นการนำพัสดุภัณฑ์ที่ฝากส่งกับ
บขส. มาส่งผ่านรถยนต์ขนส่งของไปรษณีย์ไทยไปยังศูนย์กระจายสินค้าต่าง ๆ ในภาพรวมคาดว่าจะมีปริมาณงานขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 350 ชิ้น / เที่ยว (ไป – กลับ) หรือ
10,500 ชิ้น/ เดือน สำหรับรถขนส่งของ บขส. 1 คัน และตอบโจทย์ กับกลุ่มสินค้าประเภทเกษตรกรรม
อาหาร สิ่งของขนาดพิเศษ อีคอมเมิร์ซ ฯลฯ ที่ต้องการกระจาย - จำหน่ายสินค้าในพื้นที่อื่น
ๆ”
ดร.ดนันท์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความร่วมมือระหว่างไปรษณีย์ไทยและ
บขส. จะเริ่มต้นในช่วงเดือนเมษายนนี้
โดยไปรษณีย์ไทยจะเป็นผู้นำยานพาหนะเข้าไปรับสิ่งของในสถานีขนส่งผู้โดยสารของ
บขส. ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาพื้นที่บางส่วนให้เป็นศูนย์รับฝากพัสดุภัณฑ์
จากนั้น จะนำสิ่งของไปยังศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาคต่าง
ๆ ทั้งนี้
มั่นใจว่าจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับทั้งสองฝ่ายได้โดยเฉพาะจากกลุ่มเป้าหมายหลักอย่างผู้ประกอบการรายย่อยที่ค้าขายทั้งในช่องทางออนไลน์ -
ออฟไลน์ และแต่ละรายมีคู่ค้าที่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ นอกจากนี้
ยังจะทำให้สินค้าถูกนำจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยลดความกังวลของสินค้าที่ค้างตามศูนย์ต่าง
ๆ ได้อีกด้วย
ด้าน ดร.สัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวว่า
ตามที่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2502
เรื่องการเดินรถขนส่งต่างจังหวัด จากเดิมให้ บขส. รับภาระเฉพาะเดินรถโดยสาร
เป็นให้มีภารกิจด้านการขนส่งผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ บขส. พิจารณาแนวทางการดำเนินธุรกิจ ร่วมกับ
ปณท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสำหรับเป็นทางเลือกในการให้บริการประชาชน
ดังนั้น บขส. และ ปณท จึงได้หารือและตกลงร่วมกันที่จะร่วมมือ พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และ
บูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและเครือข่าย ของทั้งสองหน่วยงานที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา บขส. ได้พัฒนาบริการรับ-ส่งพัสดุภัณฑ์ อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ปัจจุบัน บขส.
มีศูนย์รับส่งพัสดุภัณฑ์หลักอยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) และมีสาขารับ-ส่งพัสดุภัณฑ์
รวมถึงตัวแทนรับ-ส่งพัสดุภัณฑ์ กระจายอยู่ทั่วประเทศ รวม 175 แห่ง สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้
ทางไปรษณีย์ไทย จะเข้ามาช่วยสนับสนุน บขส. ในการขนส่งสินค้า จากสถานีต้นทาง
และสถานีปลายทาง เพื่อส่งต่อไปยังผู้รับสินค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวก
รวดเร็ว ในการรับ-ส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ รวมทั้งเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการด้วย