
อินไซด์กลยุทธ์การตลาด “พรีเช็นเตอร์” ไปรษณีย์ไทย พร้อมมุมมองความสำเร็จที่ถูกส่งผ่าน “ความจริงใจ”
สร้างความฮือฮาให้กับวงการสื่อสารและการขนส่งได้เป็นอย่างดี
หลังจากที่ “ไปรษณีย์ไทย” เปิดตัวเปิดตัวภาพยนตร์สั้นออนไลน์หรือเว็บฟิล์ม “ฝากไปรฯ
ให้ถึงเธอ” ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดความผูกพันของบุรุษไปรษณีย์และคนไทยที่มีมายาวนานกว่า
137 ปี โดยหลังจากที่เว็บฟิล์มเรื่องนี้ปล่อยออกมาเพียง 4 สัปดาห์ก็มียอดเข้าชมมากถึง
7 ล้านวิว ตลอด 3 นาทีกว่า ที่ได้บอกเล่าเรื่องราวความผูกพัน ความทุ่มเท
และความมุ่งมั่นที่ต้องการสร้างความสุข และรอยยิ้มให้กับผู้ใช้บริการ ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งที่ทำให้เว็บฟิล์มของไปรษณีย์ไทยแตกต่างจากภาพยนตร์โฆษณาทั่วไปนั่นก็คือ
การถ่ายทอดเรื่องราวผ่านบุรุษไปรษณีย์ตัวจริง รวมถึงสตอรี่ที่นำมาสร้างนั้นเป็นประสบการณ์จริงของบุรุษไปรษณีย์ที่ออกไปส่งจดหมาย
พัสดุในแต่ละวัน
ผศ.ดร.เอกก์
เล่าว่า
การใช้พรีเซ็นเตอร์ชื่อดังเป็นการทำการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมและส่วนใหญ่ได้ผลตอบรับค่อนข้างดี โดยเฉพาะการสื่อสารกับคนภายนอก แต่การใช้พรีเซ็นเตอร์ ที่เป็นคนดังนั้น เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนเพราะบุคคลที่เลือกมาจะต้องมีความเหมาะสมกับแบรนด์ด้วยซึ่งข้อดีของการใช้พรีเซ็นเตอร์ คือ เราจะสามารถสร้างการรับรู้แบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับไปรษณีย์ไทยนั้นไม่ได้มองแค่การสื่อสารกับคนภายนอกเท่านั้น
แต่ไปรษณีย์ไทยแคร์พนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนในองค์กร และไปรษณีย์ไทยเชื่อว่าไม่มีพรีเซ็นเตอร์คนไหนมีความเหมาะสมกับไปรษณีย์ไทยเท่ากับบุรุษไปรษณีย์
เพราะสิ่งที่ไปรษณีย์ไทยต้องการนำเสนอผ่านมุมมองเว็บฟิล์ม คือ
Companionship
หรือมิตรภาพความเป็นเพื่อนที่ได้สะท้อนออกมาผ่านเว็บฟิล์ม
ไม่ว่าจะเป็นการทักทายกับผู้ใช้บริการ การเข้าไปช่วยเหลืออื่นๆ ที่นอกเหนือจากนำจ่ายพัสดุ
ส่งของถูกบ้านถึงแม้จ่าหน้าผิด หรือรู้แม้กระทั่งว่าหากเจ้าของบ้านนี้ไม่อยู่จะสามารถส่งพัสดุไว้ได้ที่ไหน
เหล่านี้เป็นความละเอียดอ่อนที่เกิดจากประสบการณ์การทำงานที่อยู่เคียงข้างคนไทยมากกว่าร้อยปี
ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีเจ้าไหนทำได้แบบไปรษณีย์ไทย
Navigator
หรือการนำทาง
นอกจากการเป็นเพื่อนแท้แล้วไปรษณีย์ไทยต้องการนำทางเพื่อนไปสู่เส้นทางที่ดีขึ้น
เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการบริการสามารถแก้ไขให้ได้ หรือแม้แต่แม่ค้าออนไลน์ที่ไม่เข้าใจในขั้นตอนการใช้บริการ
ไปรษณีย์ไทยก็สามารถให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้สิ่งที่ดีที่สุด
โดยไปรษณีย์ไทยมุ่งเน้นการให้บริการที่ขึ้นยิ่งๆ ขึ้น
ผศ.ดร.เอกก์
กล่าวต่อว่า
ในอดีตการทำการตลาดจะเน้นที่การสร้างเรื่องราว
แต่สำหรับยุคนี้การชูเรื่องราวที่มีอยู่จริงจะทำให้แบรนด์มีความโดดเด่นและแตกต่าง
ดังนั้นเว็บฟิล์มของไปรษณีย์ไทยจึงไม่สามารถเอาคนนอกมาเล่าเรื่องได้ ซึ่งคนที่จะเล่าเรื่องราวของไปรษณีย์ไทยได้ดีก็จะต้องเป็นคนที่มี
DNA
ของไปรษณีย์ไทยเท่านั้น
เรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมาเป็นการสร้างมาจากเรื่องจริงของบุรุษไปรษณีย์กว่า 20,000
คนทั่วประเทศ
สิ่งที่สะท้อนออกมาเป็นเรื่องที่บุรุษไปรษณีย์เจอมาเองกับตัว
ดังนั้นเว็บฟิล์ม “ฝากไปรฯ ให้ถึงเธอ” จึงเป็นการชูเรื่องราวมากกว่าการสร้างเรื่องราว
เนื่องจากเป็นการเอาข้อเท็จจริงมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลอดทั้งเรื่องแทบไม่มีการขายของ
แต่ไปรษณีย์ไทยต้องการจะบอกคนไทยทุกคนว่า “ขอบคุณที่วางใจให้ไปรษณีย์ไทยอยู่เคียงข้าง”
“ขอบคุณที่มอบความผูกพันให้บุรุษไปรษณีย์ทุกคน” และไปรษณีย์ไทยกำลังจะบอกว่าเรามุ่งเน้นการพัฒนาเจ้าหน้าที่ทุกคนให้เป็นแบบเจ้าหน้าที่ในเว็บฟิล์ม
·
การตลาดที่ไม่ได้มองแค่เรื่อง “ราคา” เป็นตัวแปรสำคัญ
ตัวเลขจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ใช้บริการเกิดความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์
ณ ตอนนี้ไปรษณีย์ไทยเลยจุดการสร้างการรับรู้หรือ Brand Awareness ไปแล้ว
เพราะตอนนี้ไปรษณีย์ไทยสามารถใช้คุณภาพบริการ ความจริงใจ สร้างกลุ่มผู้ใช้บริการที่มีความจริงใจต่อแบรนด์
และพร้อมที่จะปกป้อง หรือที่เรียกว่า Brand Loyalty โดยสิ่งที่ไปรษณีย์ไทยได้รับมาจากผู้ใช้บริการนั้น
ไม่ได้เกิดจากกลยุทธ์การลดราคาค่าบริการเท่านั้น
แต่สิ่งเหล่านี้เกิดจากการให้บริการด้วยคุณภาพ บริการด้วยความจริงใจ
มองลูกค้าทุกคนเป็นเสมือนเพื่อน พี่ น้อง พร้อมช่วยเหลือตลอดเวลา
และพร้อมที่จะเป็น “เพื่อนแท้ของคนไทย” ทุกคน อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.เอกก์ มองว่าไปรษณีย์ไทยจะไม่หยุดพัฒนาการให้บริการต่างๆ
ไว้แค่นี้ แต่พร้อมที่จะพัฒนาบริการให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปทำผู้ใช้บริการกลายเป็น “แฟนด้อม”
คล้ายๆ กับศิลปินเกาหลี
· ไม่มีคู่แข่งในสนามธุรกิจ
“โลจิสติกส์”
·
เดินหน้าสร้างกิจกรรมเชื่อมสายสัมพันธ์กับคนไทย
ไปรษณีย์ไทยในวันนี้ไม่ได้มีแค่ภารกิจเพิ่มคุณภาพในการให้บริการด้านการขนส่งเท่านั้น
แต่ไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับสังคม
โดยเฉพาะในช่วงที่สังคมต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด น้ำท่วม
หรือการส่งต่อความสุขและโอกาสให้กับเด็กนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล ไปรษณีย์ไทยก็พร้อมให้บริการอยู่เคียงข้างชุมชน
และคนไทย และพร้อมเดินหน้าพัฒนาคุณภาพการให้บริการเพื่อคนไทยไทยต่อไป ผศ.ดร.เอกก์
กล่าวทิ้งท้าย
และเพื่อเจาะลึกความสำเร็จของแคมเปญนี้
วันนี้เราจะมาหาคำตอบเกี่ยวกับมุมมองการทำการตลาดโดยเล่าจากเรื่องจริง กับผู้คร่ำหวอดในวงการการตลาดและการสร้างแบรนด์
“ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล” ผู้ช่วยอธิการบดี
งานด้านสื่อสารองค์กรบริหารแบรนด์และนิสิตเก่าสัมพันธ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งต้องบอกเลยว่ามุมมองที่อาจารย์นำมาฝากในวันนี้มีความน่าสนใจหลากหลายประเด็นเลยทีเดียว
·
ไปรษณีย์ไทยกับการตลาดที่ไร้พรีเซ็นเตอร์ชื่อดัง
·
กว่าจะเป็นภาพยนตร์สั้นออนไลน์ “ฝากไปรฯ
ให้ถึงเธอ”
ยิ่งมีบริษัทที่ให้บริการด้านโลจิสติกส์มากเท่าใด
ยิ่งถือว่าเป็นเรื่องดีต่อระบบอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงผู้ใช้บริการมากเท่านั้น
ดังนั้นไปรษณีย์ไทยไม่ได้มองบริษัทเอกชนเจ้าอื่นๆ เป็นคู่แข่ง
เพราะไปรษณีย์ไทยเองมีกิจกรรมอีกมากมายที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อคนไทย ในทางตรงกันข้ามไปรษณีย์ไทยต้องการพาร์ทเนอร์ที่จะเข้ามาร่วมยกระดับบริการขนส่งของประเทศไทยให้ดีขึ้นมากกว่า
และไปรษณีย์ไทยจะไม่เป็นแค่ฝ่ายรับอย่างเดียว เพราะแบรนด์ได้มองถึงการเข้าไปเป็นพาร์ทเนอร์ในการเชื่อมโยงการส่งพัสดุของเจ้าอื่นๆ
ด้วยเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในจุดที่เข้าถึงยาก ในพื้นที่ห่างไกล
ฉะนั้นแล้วการตลาดต่อจากนี้ของไปรษณีย์ไทย จะเป็นการร่วมมือเพื่อยกระดับ
และดูแลสังคมไทย ควบคู่ไปกับการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อสร้างมาตรฐานให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยดีขึ้น และใหญ่ขึ้น