รูปภาพโฆณา แบบภาพวนซ้ำ

คณะอนุกรรมการ



คณะอนุกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ ปณท


อำนาจหน้าที่

1.กำหนดวิธีการ หลักเกณฑ์ สมรรถนะและความรู้ที่จำเป็น (Skill Matrix) ของคณะกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามแนวทางและขั้นตอนการแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ ในการดำเนินธุรกิจและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาสรรหารายชื่อบุคคลเป็นกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
2.สรรหารายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือเพื่อขึ้นบัญชีเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยมีหลักเกณฑ์ที่โปร่งใส เป็นธรรม คำนึงถึงความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
3.เสนอรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ต่อคณะกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการตามขั้นตอน ของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
4.พิจารณาหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบรายคณะและแบบรายบุคคลของกรรมการ และกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนรวมทั้งผลประโยชน์อื่นของกรรมการและอนุกรรมการ ของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ผลงาน สมเหตุสมผล โปร่งใส เป็นธรรม และสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
5.พิจารณารายชื่อบุคคลที่มีความเหมาะสมที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการของบริษัทในเครือ ก่อนนำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
6.พิจารณากลั่นกรองการสรรหาและคัดเลือกบุคคลผู้สมควรได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานอื่นใดเป็นการเฉพาะ รวมถึงการพิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติงานและค่าตอบแทนของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อพิจารณา
7.พิจารณาแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าร่วมประชุมในคณะอนุกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หากมีความจำเป็น เพื่อให้ความเห็นในเรื่องสำคัญ
8.ทบทวนความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การสรรหาและกฎบัตรคณะอนุกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นประจำทุกปี
9.ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มอบหมาย 


คณะอนุกรรมการกฎหมาย


อำนาจหน้าที่


1. ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และพิจารณากลั่นกรอง กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายในการดำเนินกิจการของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
2. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามที่มอบหมาย
3. มีอำนาจเรียกขอข้อมูลและคำชี้แจงจากหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ภายในบริษัท ไปรษณีย์ไทยจำกัด ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีอำนาจเชิญหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมาให้คำปรึกษา หรือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้
4. ทบทวนความเหมาะสมของกฎบัตรเป็นประจำทุกปี
5. ไม่นำข้อมูลการดำเนินงานไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
6. ประธานอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ รวมทั้งบุคคลอื่นๆ ในคณะอนุกรรมการกฏหมายตาม (2) ต้องแจ้งให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ทราบถึงความสัมพันธ์หรือการมีส่วนได้เสียของตนในเรื่องที่พิจารณา/ให้ความเห็น และต้องไม่มีส่วนร่วมในการประชุมการพิจารณาหรือการอนุมัติในเรื่องนั้นๆ
7. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือประธานกรรมการมอบหมาย

คณะอนุกรรมการด้านกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาดและการสื่อสาร


อำนาจหน้าที่ 

1. กำกับดูแลการดำเนินงานตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model : SE AM) ด้านที่ 4 การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้า (Stakeholder and Customer Management : SCM) และติดตามการดำเนินงานดังกล่าว รวมทั้งให้ความเห็นชอบการดำเนินงานประเด็นต่างๆ ตามเกณฑ์การประเมินผลกำหนดไว้ ดังนี้ 
  1.1 พิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับองค์กร
        ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร ประเด็น/ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัฯที่มีต่อองค์กร
  1.2 พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ด้านการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและแผนปฏิบัติการผู้มีส่วนได้
        ส่วนเสียประจำปี รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประจำปีอย่างน้อย
        เป็นรายไตรมาส
  1.3 พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ด้านลูกค้าและตลาด กฏบัตรและมาตรฐานด้านบริการ
        (Customer Service Charter and Service Standard)
  1.4 พิจารณาให้ความเห็นชอบช่องทางในการรับข้อร้องเรียน กำหนดนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติในการจัดการ
        ข้อร้องเรียน (Complaint Handing Policy Outline & Procedures) และรายงานผลการดำเนินการต่อข้อ
        ร้องเรียนให้คณะกรรมการ ปณท ทราบเป็นระยะ
2. กำกับดูแลนโยบาย ทิศทาง และแผนงาน การสร้างแบรนด์ "ไปรษณีย์ไทย" ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. กำกับดูแลกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด การสื่อสารการตลาด และการสื่อสารองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ สร้างรายได้และดัชนีขี้วัดความภักดีของลูกค้า (Net Promoter Score) ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และติดตามผลการดำเนินงานทางการเงินและ Net Promoter Score หลังจากได้ดำเนินการตามแนวทางและกลยุทธ์ ข้างต้น
4. บูรณาการดำเนินงานด้านการสื่อสารการตลาด และการสื่อสารองค์กร ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการตลาดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่กำหนดให้สัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว
6. คณะอนุกรรมการสามารถพิจารณาเชิญผู้เชียวชาญเฉพาะด้านเข้าร่วมประชุมหากมีความจำเป็นเพื่อให้ความเห็นในเรื่องสำคัญได้
7. ไม่นำข้อมูลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ปณท
8. ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ปณท

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และกลั่นกรองการลงทุน


อำนาจหน้าที่ 

โดยให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และกลั่นกรองการลงทุน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. กำกับดูแล ปณท ให้ดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายซองรัฐบาล นโยบายของกระทรวงดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนนโยบายของประธานกรรมการ ณห ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย
2. กำกับดูแล ปณท ให้กำหนดกรอบวงเงินตามแผนงานคำของบประมาณและจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้อง
3. กำกับดูแลการปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความเหมาะสมเพื่อสร้างประสิทธิภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
4. ให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาในการจัดทำยุทธศาสตร์องค์กร กลยุทธ์ และโครงการเริ่มใหม่ เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนา ปณา ให้สามารถเข้าสู่การแข่งขันได้
5.กำกับดูแลให้เกิดการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กรไปสู่การปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานให้เป็นไปหามแผนวิสาหกิจของ ปณท
6. พิจารณางบลงทุนเพิ่มเติมระหว่างปีของ ปณท ก่อนเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการ ปณท ให้ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนหรี ว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2550
7. ติดตามเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณลงทุนให้เป็นไปตามกรอบการดำเนินงานและระยะเวลาที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนด
8. พิจารณากลั่นกรองเรื่องการจัดซื้อ/จัดจ้างของ ปณท (ยกเว้นการจัดซื้อ/จัดจ้างที่นำเข้าพิจารณากลั่นกรองผ่านคณะอนุกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล) โดยให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน ดังนี้
(ก) การจัดซื้อ/จัดจ้างโครงการตามนโยบายบริษัท
(ข) การจัดซื้อ/จัดจ้างที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ปณท
9. เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างและการ
เบิกจ่ายเงินงบประมาณลงทุน (ถ้ามี)
10. กำกับดูแล การดำเนินงานตามกระบวนการวางแผนกลยุทธ์และกระบวนการถ่ายทอดกลยุทธ์เพื่อนำไปปฏิบัติ เพื่อให้การกำหนดทิศทางและชอบเขตของธุรกิจในระยะยาวสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ และเพื่อให้มีความเข้าใจและถ่ายทอดนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรอย่างมีประสิทธิผล
11. กำกับดูแล การบริหารทุนมนุษย์ การวางแผนอัตรากำลัง การพิจารณาผลตอบแทน/สิทธิประโยชน์ และการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความรู้และทักษะที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ
12. กำกับดูแล การดำเนินงานของ งณา เกี่ยวกับการจัดการความรู้และนวัตกรรม เพื่อให้การจัดการความรู้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีผลลัพธ์ที่นำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร (ยกเว้นการดำเนินงานเกี่ยวกับนวัตกรรมดิจิทัล ให้นำเสนอผ่านคณะอนุกรรมการพัฒาเทศโนโลยีดิจิทัลและการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล)
13. อนุมัติ/เห็นซอบ นโยบาย คู่มือปฏิบัติงาน แผนยุทธศาสตร์ แผนประจำปี แผนงาน/โครงการสำคัญ และติดตามผลการดำเนินงานที่สำคัญ ตามที่เกณฑ์การดำเนินงานของระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model : SE-AM) ด้านที่ 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ด้านที่ 6 การบริหารทุนมนุษย์ และด้านที่ 7 การจัดการความรู้และนวัตกรรม กำหนดไว้ ประกอบด้วย

(ก) อนุมัติ/เห็นชอบ
1) แผนยุทธศาสตร์ระยะยาว และแผนปฏิบัติการประจำปี (แผนวิสาหกิจ)
2) แผนยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานประจำปี ของระบบบริหาร
ทรัพยากรบุคคล (แผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารและพัฒนาทุนมนุษย์)
3) นโยบายขับเคลื่อนการจัดการความรู้
4) แผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ (KM) และแผนขับเคลื่อนการจัดการ
ความรู้ประจำปี
5) โมเดลการจัดการความรู้
6) นโยบายการบริหารจัดการนวัตกรรม
7) คู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัตการนวัตกรรม
8) แผนบริหารจัดการนวัตกรรมระยะยาวและแผนปฏิบัติการประจำปี

(ข) ติดตามผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การติดตามผลการดำเนินงานด้านการเงิน
2) การติดตามผลการดำเนินงานด้านที่ไม่ใช่การเงิน เช่น
- ผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐ
- ผลการดำเนินงานตามแผนวิสาหกิจ
- ผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ
- ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารและพัฒนาทุนมนุษย์
- ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้
- ผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารจัดการนวัตกรรม

14. รายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการ ปณท รับทราบ ภายหลังจากที่ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และกลั่นกรองการลงทุนทุกครั้ง
15. ไม่นำข้อมูลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ปณท
16. พิจารณาเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าร่วมประชุมในคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และกลั่นกรองการลงทุนหากมีความจำเป็น เพื่อให้ความเห็นในเรื่องสำคัญได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป

คณะอนุกรรมการพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานกรรมการผู้จัดการใหญ่



อำนาจหน้าที่ 
1. กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ในแต่ละปี ประกอบด้วย หลักกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานให้ครบทุกมิติของงานอย่างสมดุล ซึ่งต้องสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลการประเมินผลองค์กรตามนโยบายของกระทรวงการคลัง นโยบายกระทรวงเจ้าสังกัด นโยบายประธานกรรมการ ปณท และคณะกรรมการ ปณท
2. ประเมินผลการปฏิบัติงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ทุก 6 เดือน
3. พิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
และนำผลการประเมินดังกล่าว ไปใช้ในการพิจารณาเพื่อจ่ายค่าตอบแทนผันแปร และปรับเพิ่มค่าตอบแทนคงที่รายเดือนในปีต่อ ๆ ไป รวมทั้งพิจารณาเลิกสัญญาจ้าง กรณีไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุผลได้ตามที่กำหนดไว้

คณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการ บริหารความเสี่ยง และพัฒนาความยั่งยืน

โดยให้คณะอนุกรรมการการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการพัฒนาความยั่งยืน
มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้

1. พิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายการบูรณาการในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหาร
ความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (Governance Risk and
Compliance : GRC) ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการ ปณท พิจารณาอนุมัติ และกำกับดูแลให้มีการดำเนินงาน
ตามนโยบายรวมทั้งทบทวนนโยบายดังกล่าวเป็นประจำทุกปี
2. พิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ด้านการบริหารความเสี่ยง
ด้านการพัฒนาความยั่งยืน ด้านการควบคุมภายใน ด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านการปฏิบัติ
ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการ ปณท พิจารณาอนุมัติ และให้ทบทวน
นโยบายดังกล่าวเป็นประจำทุกปี
3. พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานระยะยาวและหรือแผนปฏิบัติการประจำปีด้านการกำกับดูแล
กิจการที่ดี ด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านการพัฒนาความยั่งยืน ด้านการควบคุมภายใน และด้านการแสดงความ
รับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานดังกล่าวอย่างน้อยเป็นรายไตรมาส
4. พิจารณาอนุมัติคู่มือการปฏิบัติงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ด้านการบริหารความเสี่ยง
ด้านการพัฒนาความยั่งยืน และด้านการแสดงความรับผิดขอบต่อสังคม
5. พิจารณาให้ความเห็นชอบประมวลจริยธรรมของ ปณท และคู่มือจริยธรรมสำหรับกรรมการ ปณท
ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการ ปณท พิจารณาอนุมัติ
6. พิจารณาอนุมัติคู่มือจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร ปณท และคู่มือจริยธรรมสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ปณท
รวมทั้งกำกับดูแลการดำเนินงานด้านจริยธรรมของ ปณท
7. กำกับดูแลให้มีการกำหนดบุคคลผู้รับผิดชอบ (Compliance Officer) และหรือหน่วยงาน
(Compliance Unit) ที่มีหน้าที่สอดส่อง ดูแล และกำกับการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบ
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานดังกล่าวอย่างน้อยเป็นรายไตรมาส
8. ตำเนินการอื่นใดตามที่ด้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ปณท

คณะอนุกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader
ขออภัยครับ

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

}